หนึ่งนักเรียนหนึ่งความรู้

กลยุทธ์ที่ 4 หนึ่งนักเรียนหนึ่งความรู้
One Child Ok : One Child One Knowledge
ความสำคัญและความเป็นมา
          ยุทธศาสตร์ “การนิเทศภายในเพื่อยกระดับการจัดการศึกษา” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ปีการศึกษา 2557  เป็นกระบวนการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพสากล” โดยมี กลยุทธ์ที่ 4  หนึ่งนักเรียนหนึ่งความรู้ เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และมีความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน  มีแนวทาง การนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ดังนี้

ภาพความสำเร็จ
          1. สำหรับโรงเรียนในสังกัด (ทุกโรงเรียน)
               1.1 โรงเรียนจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ “อาเซียนศึกษา” ที่มีคุณภาพระดับดี – ดีมาก สำหรับพัฒนานักเรียนทุกคน ทุกระดับการศึกษาภาคบังคับ (ชั้น ป1–6 และม.1–3)  ให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และมีความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน   
              1.2 นักเรียนสามารถสร้างและนำเสนอความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนได้ ตลอดจนการมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพิ่มขึ้น 
          2. สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาและโรงเรียนในโครงการ One Child OK
               2.1 โรงเรียนจัดทำ/พัฒนารายวิชาเพิ่มเติม “การศึกษาเพื่อเรียนรู้” ที่มีคุณภาพระดับดี – ดีมาก อย่างน้อย 1 ชั้นเรียน สำหรับพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 
              2.2 นักเรียนสามารถสร้างความรู้ (หนังสือส่งเสริมการอ่าน) และนำเสนอความรู้  ตลอดจนการมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพิ่มขึ้น    

 แนวทางการดำเนินงาน
          ใช้กระบวนการนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา โดยศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียนใช้ “กระบวนการนิเทศภายใน” เพื่อนำนโยบาย “กลยุทธ์หนึ่งนักเรียนหนึ่งความรู้... สู่การปฏิบัติ” ดังนี้
          1. โรงเรียนแต่งตั้ง “คณะทำงานพัฒนาหลักสูตร” โดยมี “ผู้อำนวยการโรงเรียน” เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ครูวิชาการ/ ครูผู้สอน/ ครูที่ปรึกษา/ เป็นกรรมการ และศึกษานิเทศก์เป็นที่ปรึกษา
          2. คณะทำงานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ดำเนินการจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตร
              2.1 หน่วยการเรียนรู้บูรณาการ “อาเซียนศึกษา” (จำนวน 12 – 30 ชั่วโมง : จัดการเรียนรู้       ในสัปดาห์อาเซียนเดือนสิงหาคม)
                   ทั้งนี้ เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการอ่าน ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์สารสนเทศ ทักษะการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นทักษะการเขียนเรียงความ และทักษะการทำงานโดยผลิตหนังสือส่งเสริมการอ่าน (Book) ตลอดจนทักษะการนำเสนอความรู้ของตนเองด้วยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ทั้งในระดับห้องเรียน และระดับโรงเรียน โดยกำหนดสาระการเรียนรู้แต่ละระดับชั้นตามหลักสูตรหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ “อาเซียนศึกษา” ดังนี้
                    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้แก่  เอกลักษณ์อาเซียน
                    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้แก่  สนุกกับภาษาอาเซียน
                    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้แก่  อาหารท้องถิ่นอาเซียน
                    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้แก่  ศาสนาและวัฒนธรรมอาเซียน
                    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้แก่  การประกอบอาชีพในอาเซียน
                    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้แก่  ประชาคมอาเซียน
                    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ได้แก่   บุคคลสำคัญของประเทศอาเซียน
                    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ได้แก่   ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยวอาเซียน  
                    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ได้แก่   ระบบการบริหารประเทศในอาเซียน
                   รายละเอียดเอกสาร หน่วยการเรียนรู้บูรณาการ “อาเซียนศึกษา” (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1, 2557)
              2.2 รายวิชาเพิ่มเติม “การศึกษาเพื่อเรียนรู้”จำนวน 1 หน่วยกิจ (40 ชั่วโมงต่อปี) อย่างน้อย       1 ชั้นเรียน (เฉพาะโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 49 โรงเรียน* และโรงเรียนในโครงการ One Child OK  ปีการศึกษา 2556 จำนวน 30 โรงเรียน**โดยมุ่งหมายพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  จำนวน 5 ด้าน คือ
                    2.2.1  รักการอ่าน มีความใฝ่รู้และใฝ่เรียนรู้
                   2.2.2  ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ  
                    2.2.3  คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างความรู้ด้วยตนเอง 
                    2.2.4  ทำงานเป็นและสร้างเอกสารความรู้ของตนเอง
                    2.2.5  สื่อสารด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
                   รายละเอียด เว็บไซต์ www.onechildok.org
          3. โรงเรียนดำเนินการขออนุมัติใช้หลักสูตรสถานศึกษา โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
          4. โรงเรียนแต่งตั้งครูผู้สอน และครูที่ปรึกษาสำหรับนักเรียนทุกคน
          5. ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา “หน่วยบูรณาการ/รายวิชาเพิ่มเติม” โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนที่ตนเองรับผิดชอบ ให้สามารถปฏิบัติงานตามภาระงานที่ครูผู้สอน   มอบให้ศึกษาค้นคว้าสร้างและนำเสนอความรู้ของตนเองได้ทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ  สามารถสรุปบทบาทหน้าที่ของครูผู้สอน/ ครูที่ปรึกษา/ นักเรียน 
6. โรงเรียนจัดให้มีการนำเสนอผลงาน “หนึ่งนักเรียนหนึ่งความรู้” ในกิจกรรม “เปิดโลกวิชาการ” ของโรงเรียนปลายปีการศึกษา เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสเสนอความรู้ของตนเองต่อ พ่อ แม่ ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยทักษะการพูดสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
          7. โรงเรียนจัดกิจกรรมประกวดคัดเลือกผลงาน “หนึ่งนักเรียนหนึ่งความรู้”ดีเด่น เพื่อยกย่องชมเชยและนำหนังสือเสริมการอ่านของนักเรียนทุกคน ไปจัดให้บริการกับนักเรียนในห้องสมุดโรงเรียน
          8. โรงเรียนวัดและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย “กลยุทธ์หนึ่งนักเรียนหนึ่งความรู้... สู่      การปฏิบัติ”
          9. โรงเรียนนำผลการดำเนินงานตามนโยบาย “กลยุทธ์หนึ่งนักเรียนหนึ่งความรู้... สู่การปฏิบัติ” ไปพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนต่อไป

การวัดและประเมินผลการดำเนินงาน
          ตัวชี้วัดความสำเร็จ
              1. สำหรับโรงเรียนในสังกัด (ทุกโรงเรียน)
                   1.1 การจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ “อาเซียนศึกษา” ของโรงเรียน สำหรับพัฒนานักเรียนทุกคนทุกระดับการศึกษาภาคบังคับ (ชั้น ป1–6 และม.1–3)  ให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และมีความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน  
                   1.2 การสร้างและนำเสนอความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ตลอดจนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน          
               2. สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาและโรงเรียนในโครงการ One Child OK
                    2.1 การจัดทำ/พัฒนารายวิชาเพิ่มเติม “การศึกษาเพื่อเรียนรู้”  ของโรงเรียน สำหรับพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 
                   2.2 การสร้างความรู้ (หนังสือส่งเสริมการอ่าน) และนำเสนอความรู้  ตลอดจนการมีทักษะ    การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน
          วิธีการวัด
               1. สังเกต สอบถาม ตรวจสอบการจัดทำ/พัฒนาและใช้หน่วยการเรียนรู้บูรณาการ “อาเซียนศึกษา”  
               2. สังเกต สอบถาม ตรวจสอบการจัดทำ/พัฒนาและใช้รายวิชาเพิ่มเติม “การศึกษาเพื่อเรียนรู้” 
               3. ตรวจสอบหลักฐานการประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  (จำนวน 5 ด้าน) ก่อนหลัง หรือการพัฒนา
          เกณฑ์การประเมินผล
          การประเมินผล ให้ประเมินผลในภาพรวมการดำเนินงานของโรงเรียนในการนำนโยบายกลยุทธ์หนึ่งนักเรียนหนึ่งความรู้... สู่การปฏิบัติ เป็นระดับคุณภาพ 5 ระดับ คือ
               คุณภาพดีเยี่ยม   หมายถึง มีการดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนดจนเกิดผลดีตามภาพความสำเร็จและสามารถเป็นตัวอย่างได้
               คุณภาพดี   หมายถึง       มีการดำเนินงานส่วนใหญ่ตามแนวทางที่กำหนดจนเกิดผลดี
 ตามภาพความสำเร็จ
               คุณภาพพอใช้   หมายถึง มีการดำเนินงานส่วนใหญ่ตามแนวทางที่กำหนดจนเกิดผลดีและมีแนวโน้มบรรลุตามภาพความสำเร็จ
               คุณภาพปรับปรุง หมายถึง     มีการดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนดบ้างและมีแนวโน้มไม่บรรลุ
 ตามภาพความสำเร็จ
              คุณภาพปรับปรุงเร่งด่วน   หมายถึง    ไม่มีการดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนดและมีแนวโน้มไม่บรรลุตามภาพความสำเร็จ
                                   
====================================================================

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น