การพัฒนาหลักสูตร

กลยุทธ์ที่ 2  พัฒนาหลักสูตรและโครงสร้างหลักสูตรเดียวกัน
ความสำคัญ/ความเป็นมา
สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่นตามรายวิชาพื้นฐานหรือวิชาเพิ่มเติม  พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนตามความสนใจ  และตามความถนัดที่สถานศึกษาให้ความสำคัญโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของผู้เรียน
ภาพความสำเร็จ
          1.ทุกโรงเรียนจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับโครงสร้างรายวิชาตามที่เขตพื้นที่กำหนด
และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดชั้นปี
          2. ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรหลักสูตรสถานศึกษา

          3. นักเรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
แนวทางการดำเนินงาน
1.  มีการแต่งตั้ง กรรมการร่วมกันดำเนินงานที่ได้รับมอบหมาย
2.       มีแผนงาน โครงการ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรท้องถิ่นหรือสาระการเรียนรู้
เพิ่มเติมหรือกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการสอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการของชุมชน
3.  มีการประชุม วางแผน ร่วมกันของครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง หรือชุมชน
4.  มีหลักสูตรสถานศึกษา / หลักสูตรสถานศึกษาที่ปรับปรุงแล้ว โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วม
ดำเนินการ สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรหลักสูตรสถานศึกษา  โครงสร้างหลักสูตรชั้นปีตามที่สถานศึกษากำหนด และสอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา  โครงสร้างรายวิชาตามที่เขตพื้นที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน
5. ประชุมครูทุกคน เพื่อกำหนดชื่อรายวิชาพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระ และรายวิชาประวัติศาสตร์  และ
กำหนดรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด และตามที่เขตพื้นที่กำหนด คือ หน่วยการเรียนรู้บูรณาการ “ อาเซียนศึกษา” จัดเป็นหน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา (จำนวน 12-30 ชั่วโมง : จัดการเรียนรู้ในสัปดาห์อาเซียนเดือนสิงหาคม)ทุกชั้น    และรายวิชาเพิ่มเติม “การศึกษาเพื่อการเรียนรู้” เฉพาะในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ One  Child  OK  ไว้อย่างชัดเจน
6. ประชุมครูทุกคน เพื่อกำหนดหน่วยการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับโครงสร้างรายวิชาตามที่เขตพื้นที่
กำหนด
7. ประชุมครูทุกคน เพื่อออกแบบการจัดการเรียนรู้ และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงการ
พัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดชั้นปี และสอดคล้องกับโครงสร้างรายวิชาตามที่เขตพื้นที่กำหนด
          8. มีการใช้หลักสูตรสถานศึกษา/ใช้แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
9.  การสรุป ประเมินผล การจัดทำหลักสูตร / หรือปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาจากการนำไปใช้
หลักฐาน / ร่องรอย / แหล่งข้อมูล
            แผนงาน โครงการ จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
            บันทึกการประชุมร่วมกัน
            คำสั่งแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ
  เอกสารหลักสูตรสถานศึกษา
 แผนการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระต่างๆและหน่วยการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการดำเนินงาน
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
          1.ทุกโรงเรียนจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับโครงสร้างรายวิชาตามที่เขตพื้นที่กำหนด
และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดชั้นปี
          2. ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรหลักสูตรสถานศึกษา
          3. นักเรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
          วิธีการวัด
              1. สังเกต สอบถาม ตรวจสอบการจัดทำแผนงาน โครงการ จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
              2. สังเกต สอบถาม ตรวจสอบการจัดทำบันทึกการประชุม
              3. สังเกต สอบถาม ตรวจสอบการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ
     4. ตรวจสอบเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา
     5. ตรวจสอบเอกสารแผนการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระต่างๆและหน่วยการเรียนรู้
          เกณฑ์การประเมินผล
          การประเมินผล ให้ประเมินผลในภาพรวมการดำเนินงานของโรงเรียนในการนำหลักสูตรสถานศึกษา สู่การปฏิบัติ เป็นระดับคุณภาพ 5 ระดับ คือ
              คุณภาพดีเยี่ยม   หมายถึง มีการดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนดจนเกิดผลดีตามภาพความสำเร็จและสามารถเป็นตัวอย่างได้
              คุณภาพดี   หมายถึง       มีการดำเนินงานส่วนใหญ่ตามแนวทางที่กำหนดจนเกิดผลดี
 ตามภาพความสำเร็จ
              คุณภาพพอใช้   หมายถึง มีการดำเนินงานส่วนใหญ่ตามแนวทางที่กำหนดจนเกิดผลดีและมีแนวโน้มบรรลุตามภาพความสำเร็จ
              คุณภาพปรับปรุง หมายถึง     มีการดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนดบ้างและมีแนวโน้มไม่บรรลุตามภาพความสำเร็จ
              คุณภาพปรับปรุงเร่งด่วน   หมายถึง    ไม่มีการดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนดและมีแนวโน้มไม่บรรลุตามภาพความสำเร็จ

====================================================================

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น