นิเทศภายในโรงเรียน

กลยุทธ์ที่ 1 การนิเทศภายในโรงเรียนเพื่อยกระดับการเรียนรู้
ความสำคัญ/ความเป็นมา
การนิเทศภายในโรงเรียน หมายถึง  การส่งเสริม สนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือครูในโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือ การสร้างเสริมพัฒนาการของนักเรียนทุกด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา ให้เต็มตามวัยและศักยภาพ
ภาพความสำเร็จ
โรงเรียนใช้กระบวนการนิเทศภายในขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยการมีส่วนร่วม

อย่างน้อยปีการศึกษาละ 2 ครั้ง พร้อมทั้งรายงานผลการนิเทศภายในให้ผู้รับการนิเทศรับทราบเพื่อจะได้ดำเนินการปรับปรุง แก้ไขปัญหาตามรายงานผลการนิเทศภายใน
แนวการดำเนินงาน
1.       มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายใน/ผู้รับผิดชอบ
2.       มีการจัดทำแผน/โครงการ
2.1 การนิเทศภายในโรงเรียน
2.2 การพัฒนาหลักสูตรและโครงสร้างหลักสูตรเดียวกัน
2.3 ยกระดับการใช้ห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
2.4 หนึ่งนักเรียนหนึ่งความรู้
2.5 ปรับปรุงกระบวนการวัดและประเมินผลให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น
2.6 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
3.       มีกระบวนการนิเทศ/การจัดกิจกรรมนิเทศภายใน
4.       มีการจัดทำปฏิทิน/ดำเนินการนิเทศภายใน
5    มีการนำแนวทางที่ได้รับจากการนิเทศ ไปแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน
6   มีการเสนอปัญหาต่อผู้นิเทศ เมื่อพบปัญหาระหว่างการปฏิบัติงานเพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
7   ทุกคนมีส่วนร่วม/ความร่วมมือในการประเมินผลการนิเทศ
การวัดและการประเมินผลการดำเนินงาน
          ตัวชี้วัดความสำเร็จ
โรงเรียนทุกโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 มีและใช้แผน/โครงการนิเทศภายในโรงเรียน ขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยการมีส่วนร่วม มีการรายงานผลการนิเทศภายใน และผู้รับการนิเทศสรุปผลการนิเทศไปปรับปรุงแก้ไขปัญหา พัฒนางานและยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น
          วิธีการวัด
              1. สังเกต สอบถาม ตรวจสอบการจัดทำแผนงาน/ โครงการ
              2. สังเกต สอบถาม ตรวจสอบการจัดทำบันทึกกิจกรรมนิเทศ กระบวนการนิเทศ ปฏิทินการนิเทศ
              3. สังเกต สอบถาม เอกสารร่องรอยบันทึกการนิเทศภายใน
          เกณฑ์การประเมินผล
          การประเมินผล ให้ประเมินผลในภาพรวมการดำเนินงานของโรงเรียนในเรื่องการนิเทศภายใน สู่การปฏิบัติ เป็นระดับคุณภาพ 5 ระดับ คือ
              คุณภาพดีเยี่ยม   หมายถึง มีการดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนดจนเกิดผลดีตามภาพความสำเร็จและสามารถเป็นตัวอย่างได้
              คุณภาพดี   หมายถึง       มีการดำเนินงานส่วนใหญ่ตามแนวทางที่กำหนดจนเกิดผลดี
 ตามภาพความสำเร็จ
              คุณภาพพอใช้   หมายถึง มีการดำเนินงานส่วนใหญ่ตามแนวทางที่กำหนดจนเกิดผลดีและมีแนวโน้มบรรลุตามภาพความสำเร็จ
              คุณภาพปรับปรุง หมายถึง     มีการดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนดบ้างและมีแนวโน้มไม่บรรลุตามภาพความสำเร็จ
              คุณภาพปรับปรุงเร่งด่วน   หมายถึง    ไม่มีการดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนดและมีแนวโน้มไม่บรรลุตามภาพความสำเร็จ
========================================================================

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น