ปรับปรุงการวัดและประเมินผล

กลยุทธ์ที่ 5 ปรับปรุงกระบวนการวัดและประเมินผลให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

ความเป็นมา
          กลยุทธ์ที่ 5 “ปรับปรุงกระบวนการวัดและประเมินผลให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น” เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่มีเป้าหมายสำคัญในการปรับปรุงกระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา  และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับชาติให้สูงขึ้น 

ภาพความสำเร็จ
1. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ดำเนินการวัดและประเมินผลผู้เรียน ตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร
สถานศึกษา
          2. สถานศึกษาทุกแห่ง ดำเนินการวัดและประเมินผลระดับสถานศึกษา อย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ และสอดคล้องกับโครงสร้างการวัดและประเมินผลของ สพป.กำแพงเพชร เขต 1
3. สถานศึกษาทุกแห่ง ประเมินผู้เรียนตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และรายงานออนไลน์
ไปที่ สพป.กำแพงเพชร เขต 1 ทางเวปไซต์ http://www.stabdb.com/school/ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
            4. สถานศึกษาทุกแห่ง ประเมินผู้เรียนด้านการอ่าน การเขียน คิดคำนวณ และคำศัพท์ภาษาอังกฤษ  เดือนละ 1 ครั้ง และจัดทำแผนการพัฒนาผู้เรียนที่มีปัญหาด้านการอ่าน การเขียน คิดคำนวณ และการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 
5. สถานศึกษา มีคลังข้อสอบมาตรฐาน ครบ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
6. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นร้อยละ 3

7. ผู้เรียนชั้น ป.1 – ม.3 มีคุณภาพตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในระดับดีขึ้นไป
แนวทางการดำเนินงาน
          ใช้กระบวนการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาโดยศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1  ที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียนใช้ “กระบวนการนิเทศภายใน” เพื่อนำนโยบาย “ปรับปรุงกระบวนการวัดและประเมินผลให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น... สู่การปฏิบัติ” ดังนี้
          1. โรงเรียนแต่งตั้ง “คณะทำงานพัฒนากระบวนการวัดและประเมินผลในสถานศึกษา” โดยมี “ผู้อำนวยการโรงเรียน” เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ครูที่รับผิดชอบงานวัดและประเมินผล/ครูวิชาการ/ ครูผู้สอน/ ครูที่ปรึกษา/ เป็นกรรมการ และศึกษานิเทศก์เป็นที่ปรึกษา
          2. คณะทำงานปรับปรุงกระบวนการวัดและประเมินผลในสถานศึกษา ดำเนินการดังนี้
2.1  พัฒนากระบวนการวางแผนการและประเมินผลโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วอย่าง
มีคุณภาพ ดังนี้
      2.1.1  กำหนดนโยบาย แผน/โครงการ ปรับปรุงกระบวนการวัดและประเมินผลใน
สถานศึกษา ลงในแผนปฏิบัติการประจำปี
                               2.1.2  กำหนดแผนการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน และสถานศึกษา ตลอดปีการศึกษา                      
       2.1.3  กำหนดเป้าหมายการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชั้นเรียน ระดับ
สถานศึกษา  ระดับเขตพื้นที่การศึกษา  และระดับชาติ 
      2.1.4  ปรับปรุงระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ในสถานศึกษา
      2.1.5  สถานศึกษา กำหนดปฏิทินการวัดและและประเมินผลปลายปี/ปลายภาค
      2.1.6  พัฒนาคลังข้อสอบมาตรฐาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2.2  ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารการวัดและประเมินผลในสถานศึกษา ให้สอดคล้อง
เหมาะสมกับบริบทสถานศึกษา  
      2.2.1  กำหนดขอบข่ายภารกิจในการวัดและประเมินผลในสถานศึกษาที่ชัดเจน
      2.2.2  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการบริหารงานวัดและประเมินผลในสถานศึกษา
ประกอบด้วย
                                   1)  คณะอนุกรรมการกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
      2) คณะกรรมการพัฒนาและประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน
      3) คณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
      4) คณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียน
      5) ครูวัดผล
      6) นายทะเบียน
2.3   ดำเนินการวัดและประเมินผลในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ  
       2.3.1  ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา  พัฒนาความรู้ ความสามารถและ
ทักษะในการวัดและประเมินผล    
       2.3.2  ครูและบุคลากรทางการศึกษา ดำเนินการวัดและประเมินผู้เรียนในชั้นเรียน
ตลอดปีการศึกษา
       2.3.3  สถานศึกษา จัดทำคลังข้อสอบมาตรฐาน ครบทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
       2.3.4  สถานศึกษา ประเมินผู้เรียนตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และรายงาน
ออนไลน์ ไปที่ สพป.กำแพงเพชร เขต 1 ทางทางเวปไซต์ http://www.stabdb.com/school/ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
                                2.3.5 สถานศึกษาทุกแห่ง ประเมินผู้เรียนด้านการอ่าน การเขียน คิดคำนวณ และคำศัพท์ภาษาอังกฤษ  เดือนละ 1 ครั้ง และจัดทำแผนการพัฒนาผู้เรียนที่มีปัญหาด้านการอ่าน การเขียน คิดคำนวณ และการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 
2.4   กำกับ ติดตามและประเมินผลการวัดและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ
         2.4.1  คณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน ดำเนินการกำกับ  ติดตามและประเมินผล
การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน อย่างต่อเนื่อง
       2.4.2  นำผลการกำกับ  ติดตามและประเมินผล มาแก้ไขและปรับปรุงกระบวนการวัดและ
ประเมินผล
       2.4.3  รายงานผลการกำกับ  ติดตามและประเมินผลการดำเนินการวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผลการดำเนินงาน
          ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ดำเนินการวัดและประเมินผลผู้เรียน ตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร
สถานศึกษา(ตามโครงสร้างรายวิชา)
          2. สถานศึกษาทุกแห่ง ดำเนินการวัดและประเมินผลระดับสถานศึกษา อย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ และสอดคล้องกับโครงสร้างการวัดและประเมินผลของ สพป.กำแพงเพชร เขต 1
3. สถานศึกษาทุกแห่ง ประเมินผู้เรียนตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และรายงานออนไลน์
ไปที่ สพป.กำแพงเพชร เขต 1 ทางทางเวปไซต์ http://www.stabdb.com/school/ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
            4. สถานศึกษาทุกแห่ง มีแผนพัฒนาผู้เรียนที่มีปัญหาด้านการอ่าน การเขียน คิดคำนวณ และการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 
5. สถานศึกษา มีคลังข้อสอบมาตรฐาน ครบ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
6. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นร้อยละ 3
7. ผู้เรียนชั้น ป.1 – ม.3 มีคุณภาพตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในระดับดีขึ้นไป

          วิธีการวัด
          สังเกต สอบถาม ตรวจสอบการจัดทำ/พัฒนาการวัดและประเมินผล จากร่องรอยเอกสาร ดังนี้
          1.  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนากระบวนการวัดและประเมินผลในสถานศึกษา” โดยมี “ผู้อำนวยการโรงเรียน” เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ครูที่รับผิดชอบงานวัดและประเมินผล/ครูวิชาการ/ ครูผู้สอน/ ครูที่ปรึกษา/ เป็นกรรมการ และศึกษานิเทศก์เป็นที่ปรึกษา
          2.  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการบริหารงานวัดและประเมินผลในสถานศึกษา
          3.  นโยบาย แผน/โครงการ ปรับปรุงกระบวนการวัดและประเมินผลในสถานศึกษา ลงในแผนปฏิบัติการประจำปี
            4. แผนการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน และสถานศึกษา ตลอดปีการศึกษา                     
          5. เป้าหมายการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา  ระดับเขตพื้นที่การศึกษา  และระดับชาติ 
          6. ระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของสถานศึกษา (ฉบับปรับปรุง)
          7. คลังข้อสอบมาตรฐาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
          8. ข้อมูลผลการประเมินผู้เรียนตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  และการรายงานผลออนไลน์
          9. ข้อมูลผู้เรียนที่มีปัญหาด้านการอ่าน การเขียน คิดคำนวณ และการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 
          10. รายงานผลการกำกับ ติดตามและประเมินผลการวัดและประเมินผล

          เกณฑ์การประเมินผล
               ให้ประเมินผลในภาพรวมการดำเนินงานของโรงเรียนในการนำกลยุทธ์ที่ 5 “ปรับปรุงกระบวนการวัดและประเมินผลให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น” สู่การปฏิบัติ เป็นระดับคุณภาพ 5 ระดับ คือ
              คุณภาพดีเยี่ยม   หมายถึง มีการดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนดจนเกิดผลดีตามภาพความสำเร็จและสามารถเป็นตัวอย่างได้
              คุณภาพดี        หมายถึง มีการดำเนินงานส่วนใหญ่ตามแนวทางที่กำหนดจนเกิดผลดี
ตามภาพความสำเร็จ
              คุณภาพพอใช้   หมายถึง มีการดำเนินงานส่วนใหญ่ตามแนวทางที่กำหนดจนเกิดผลดีและมีแนวโน้ม บรรลุตามภาพความสำเร็จ
              คุณภาพปรับปรุง หมายถึง มีการดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนดบ้างและมีแนวโน้มไม่บรรลุตามภาพความสำเร็จ
              คุณภาพปรับปรุงเร่งด่วน   หมายถึง   ไม่มีการดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนดและมีแนวโน้มไม่บรรลุตามภาพความสำเร็จ

===================================================================

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น