การประกันคุณภาพภายใน

กลยุทธ์ที่ 6 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
ความสำคัญ
            ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา  เป็นระบบที่สถานศึกษาร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การกำกับ ดูแลและสนับสนุนส่งเสริมของหน่วยงานต้นสังกัด   เพื่อสร้างความมั่นใจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักวิชา ข้อมูลหลักฐาน ที่ตรวจสอบได้ และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่า ผู้เรียนทุกคนจะได้รับบริการด้านการศึกษาที่มีคุณภาพจากสถานศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดในมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2554 และมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.. 2553

สภาพความสำเร็จ
            ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (Internal Quality Assurance System)
             สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ได้นำแนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.. 2553 มาใช้เป็นแนวทางเพื่อมุ่งหวังให้ทุกสถานศึกษาจัดการศึกษาให้นักเรียนมีคุณภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องว่า ผู้เรียนทุกคนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพจากสถานศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ และเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก
            สถานศึกษาต้องดำเนินการให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  โดยให้สถานศึกษายึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยการส่งเสริม สนับสนุนและกำกับ ดูแลของหน่วยงานต้นสังกัด และต้องมีการดำเนินงาน 8 ประการ ดังนี้ 1) กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยมุ่งเน้นมาตรฐาน ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตรกำหนด 2) จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา  ที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษ 3) การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ   4) ดำเนินงาน
ตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา  5) ติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 6) จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 7) จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในเสนอบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  และ 8) จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องจนเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ยั่งยืน
แนวทางการดำเนินงาน
1. การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (ดำเนินการ ภายใน 30 พฤษภาคม ของปี) มาตรฐานการศึกษาเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์ มาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแลการตรวจสอบ การประเมินผลและ
การประกันคุณภาพทางการศึกษา ดำเนินการ ดังนี้
            1แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (คำสั่งที่...............)
2กำหนดมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ ระดับการศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (บันทึกการประชุม
วันที่.... ,มาตรฐานของสถานศึกษาระดับปฐมวัยและขั้นพื้นฐาน)
                2.1  มาตรฐานและตัวบ่งชี้  มีความเหมาะสมสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาชาติ
 มาตรฐานเขตพื้นที่ นโยบายจุดเน้นหน่วยงานต้นสังกัด และเอกลักษณ์สถานศึกษา
                2.2  มาตรฐานและตัวบ่งชี้ สะท้อนอัตลักษณ์ตามปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ
                2.3  มาตรฐานและตัวบ่งชี้ กำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จ ชัดเจน เหมาะสม อยู่บนพื้นฐานของ
ศักยภาพของสถานศึกษา ผู้เรียน บริบทชุมชน และท้องถิ่นมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งมาตรการส่งเสริมตามนโยบายรัฐ หน่วยงานต้นสังกัด จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค โอกาสของสถานศึกษาอย่างชัดเจน
3. กำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จรายมาตรฐานตัวบ่งชี้ (ค่าเป้าหมายความสำเร็จของมาตรฐานและตัวบ่งชี้)
4. ขอความเห็นชอบมาตรฐานการศึกษาจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (บันทึกข้อความที่.....,หนังสือขอความเห็นชอบ.........)
5. ประกาศมาตรฐานการศึกษา และค่าเป้าหมายให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ (ประกาศที่.......,หลักฐานประชาสัมพันธ์)
2.  การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (ภายใน 30 มีนาคม ของปี) สถานศึกษาต้องมี
การจัดทำแผน 2 ประเภท คือ
2.1 แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา อาจเป็นแผน 3 ปี แผน 4 ปี หรือแผน 5 ปี เป็นแผนสะท้อนกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่จะใช้ในการพัฒนาหรือปรับปรุงเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย
2.2 แผนปฏิบัติการประจำปี ซึ่งแตกออกมาจากแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อการดำเนินงานเป็นรายปี ดำเนินการ ดังนี้
            1.  แต่งคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (คำสั่งที่......)
2.  วิเคราะห์สภาพปัญหา และความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา (บันทึกการประชุมวันที่...,
เอกสารหลักฐานการ SWOT หรือเทคนิคอื่น ๆ...)
3. กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และความสำเร็จชัดเจนและเป็นรูปธรรม
4. กำหนดการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นทีสนับสนุนวิชาการทั้งภายใน/นอก
5. กำหนดบทบาทหน้าที่บุคลากรของสถานศึกษา
            6. กำหนดแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง องค์กร หน่วยงาน ชุมชน    
            7. กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า
            8. จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา และเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา       ขั้นพื้นฐาน (แผนพัฒนาการจัดการศึกษา,หนังสือขอความเห็นชอบ..........)
            9.  แต่งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา (คำสั่งที่........)
            10. จัดทำโครงการ/กิจกรรม เป้าหมายความสำเร็จและปฏิทินการดำเนินงาน โดยโครงการ/กิจกรรม
ในแผนระบุวัตถุประสงค์ วิธีดำเนินงาน เป้าหมายความสำเร็จทรัพยากร และกรอบเวลาชัดเจนเป็นไปได้ในการปฏิบัติ  มีความเชื่อมโยงเหมาะสม สอดคล้องกัน โดยทุกโครงการมีกิจกรรมที่สอดคล้องกัน และตอบสนองครอบคลุมกับมาตรฐานของสถานศึกษา  (รายการโครงการ/กิจกรรม คลุมคลุมมาตรฐานด้านผู้เรียน ด้านครู ด้านบริหาร ด้านอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และมาตรการส่งเสริม)
            11. จัดทำรูปเล่มแผนปฏิบัติการประจำปีและเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา   ขั้นพื้นฐาน (แผนปฏิบัติการประจำปี...,หนังสือขอความเห็นชอบ........)

3. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ (ภายใน 30 มีนาคม ของปี หรือที่มีการเปลี่ยนแปลง) สถานศึกษาสามารถจัดระบบบริหารโดยให้มีความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาโดยเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทุกฝ่าย และสถานศึกษาควรมีการจัดระบบสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ครอบคลุมและเพียงพอต่อการนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการศึกษาสืบค้นได้ง่าย รวดเร็ว เป็นระบบ ดำเนินการ ดังนี้
            1.  กำหนดโครงสร้าง แบบแผนการปฏิบัติงานที่แสดงกระบวนการบริหารชัดเจน (แผนภูมิโครงสร้างการบริหาร,คู่มือการบริหารสถานศึกษา)
            2. แต่งตั้งคณะกรรมการตามโครงสร้างระบบบริหารครบทุกฝ่าย (คำสั่งที่....)
            3. แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบการจัดทำระบบสารสนเทศ (คำสั่งที่.......)
            4. วิเคราะห์ สภาพปัญหาและความต้องการของระบบบริหารและสารสนเทศ (บันทึกการประชุม วันที่.........
เอกสารหลักฐานการ SWOT หรือเทคนิคอื่น ๆ.......)
            5. จัดเก็บข้อมูลสารสนเทศตามโครงสร้างการบริหารงานทั้ง 4 งาน และมาตรฐานการศึกษา ควรจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศครอบคลุมภารกิจ ด้านการบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารบุคคล และการบริหารทั่วไป รวมทั้งมาตรฐานการศึกษาให้เป็นหมวดหมู่ ครบคลุม ถูกต้อง สมบูรณ์ ทันสมัย เป็นปัจจุบัน และพร้อมใช้งาน มีการให้บริการข้อมูลสารสนเทศที่เป็นระบบแก่ผู้ต้องการใช้ทุกฝ่าย สถานศึกษาต้องดำเนินการ
(แฟ้มเอกสารข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน ,ระบบข้อมูลจากคอมพิวเตอร์)
4.  การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (ดำเนินการตลอดปีการศึกษา) เป็นการปฏิบัติงานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปีได้อย่างเหมาะสมและบรรลุผลสำเร็จตามแผนโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดทำรายงานผล ดำเนินการ ดังนี้
            1. ประชุม ชี้แจงทำความเข้าใจแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (บันทึกการประชุมที่.....)
            2. มอบหมายงาน และทำปฏิทินปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี (คำสั่งที่.....)
            3. ดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี ตามกรอบระยะเวลา และดำเนินได้ครบทุกโครงการ/กิจกรรม (บันทึกการดำเนินงานโครงการ ,บันทึกการประชุม..,คำสั่งปฎิบัติงานโครงการกิจกรรม,ภาพถ่าย....,ผลการดำเนินงานโครงการ/ กิจกรรม.....,แบบประเมินความพึงพอใจ)
            4.  ผู้บริหารส่งเสริม สนับสนุนอำนวยความสะดวกในการทำงานและดำเนินการตามแผน (การอนุมัติงบประมาณ ,อื่นๆ.....)
5. กำกับ นิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี ตามปฏิทินนิเทศ (บันทึกนิเทศ....)
6. ประเมิน สรุปทุกโครงการและกิจกรรมในแผนปฏิบัติการ (สรุปโครงการ.....)
5. การจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา (ครั้งที่ 1 ภายในเดือนสิงหาคม-กันยายน ครั้งที่ 2 ภายในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ของทุกปี) เป็นกระบวนการติดตามตรวจสอบ ความก้าวหน้าของการปฏิบัติงาน       ตามแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษารวมถึงการจัดทำรายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาพร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการเร่งรัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดำเนินการดังนี้
1.  แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา รวบรวมข้อมูล การดำเนินงานตามแผนงาน (คำสั่งที่....,
บันทึกการประชุม.....)
2. จัดทำเครื่องมือ แผน/ปฏิทิน การตรวจสอบตามระบบประกัน และมาตรฐานการศึกษา (แบบประเมิน..,แบบติดตามงานโครงการ/กิจกรรม....แบบติดตามรายมาตรฐาน)
3.  ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาตามที่กำหนด (ผลการตรวจสอบ.......)
4. มีรายงานผลการติดตามตรวจสอบตามระบบประกันคุณภาพภายในมาตรฐานการศึกษา (สรุปผลการติดตามตรวจสอบ,รายงานการติดตามตรวจสอบ)
5. นำผลการตรวจสอบมากำหนดมาตรการ วิธีการ/แนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษา (มาตรการการพัฒนา/วิธีการปรับปรุง.....)
6.  เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ (บันทึกการประชุม.....,เอกสารการประชาสัมพันธ์)
7.  เตรียมการและให้ความร่วมมือติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานต้นสังกัด (เอกสารการดำเนินงาน เช่น  แผนพัฒนาคุณภาพ, แผนปฏิบัติการประจำปี,บันทึกการประชุม ,ผลการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม,รายงานผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมสรุปผลการติดตามตรวจสอบ)
6. การจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (มีนาคม ของทุกปี)        เป็นกระบวนการประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่กระทำ         โดยบุคลากรภายในหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบว่าบรรลุตามเป้าหมายหรือมาตรฐานการศึกษาหรือไม่ ดำเนินการดังนี้
1.  แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (คำสั่งที่...,
บันทึกประชุม....)
2.  จัดทำเครื่องมือประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐาน และปฏิทินปฏิบัติงาน (เครื่องมือประเมินตามมาตรฐานระดับปฐมวัยและขั้นพื้นฐาน........)
3. ประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่ขึ้นทะเบียนมาจากหน่วยงานต้นสังกัดเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพภายใน (ผลการประเมินมาตรฐานระดับปฐมวัยและขั้นพื้นฐาน
4. นำผลการประเมินคุณภาพภายในมาวางแผนดำเนินงานปีต่อไป (บันทึกการประชุม...,การใช้ผลประเมินในแผนปฏิบัติการประจำปี...,)
7. การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน (มีนาคม ของทุกปี)  เป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพสะท้อนคุณภาพผู้เรียน และผลสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษาอย่างชัดเจน สาระสำคัญทุกส่วน ครอบคลุมการดำเนินงานของสถานศึกษา ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โดยไม่คัดลอกจากสถานศึกษาอื่น รายงานหน่วยงานต้นสังกัด เผยแพร่ต่อสาธารณชน ด้วยวิธีการหลากหลาย เหมาะสม เช่น การประชุม รายงานประจำปีฉบับสมบูรณ์ รายงานผ่าน Website วารสาร จุลสาร แผ่นพับ รายงานเสียงตามสาย ดำเนินการดังนี้
1.  แต่งตั้งคณะกรรมการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล (คำสั่งที่...,บันทึกการประชุม)
2. ยกร่างรายงานตามรูปแบบ เสนอร่างรายงานให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย วิพากษ์ ปรับปรุงแก้ไข และให้ข้อเสนอแนะ (คำสั่งที่...,บันทึกการประชุม)
3. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ ตามรูปแบบและเสนอคณะกรรมการให้ความเห็นชอบ (รายงานประจำปี(SAR), หนังสือขอความเห็นชอบ..)
4. รายงานหน่วยงานต้นสังกัด เผยแพร่ต่อสาธารณชน และแจ้งคณะครูทราบ (หนังสือนำส่งเขต,บันทึกการประชุม, หลักฐานการเผยแพร่...)
8. การจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (ตลอดปีการศึกษา) สถานศึกษาใช้วิธีการต่างๆ       เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา เช่น การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ การนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ มีนวัตกรรมใหม่ๆที่สถานศึกษาจัดทำขึ้น  ศึกษา/วิเคราะห์โครงการที่ดำเนินการ สนับสนุนโครงการ/กิจกรรมที่ได้ผลดี และนำเทคนิค วิธีการไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงโครงการ/กิจกรรมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ดำเนินการ ดังนี้

1.  สร้างจิตสำนึกให้ผู้เกี่ยวข้อง เห็นความสำคัญของการพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (วิธีการ/รูปแบบ...
บันทึกประชุม...)
2.  แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดเป้าหมาย แนวทางการดำเนินงาน ระยะเวลา งบประมาณ (คำสั่งที่...,
บันทึกประชุม)
3.  วิเคราะห์ผลการประเมิน หาแนวทางปรับปรุง พัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีถัดไป (บันทึกการประชุม วันที่.., เอกสารหลักฐานการ SWOT หรือเทคนิคอื่น ๆ...)
4.  วางแผนพัฒนาระบบการนิเทศภายใน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาพัฒนาจุดเด่น ยกระดับจุดที่ควรพัฒนา และรักษาคุณภาพมาตรฐานที่ประสบผลสำเร็จ (บันทึกประชุม..,ข้อมูลการวางแผนส่งเสริมพัฒนา,แผนการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมในปีการศึกษาถัดไป)

การวัดประเมินผลการดำเนินงาน
           จากการสังเกต สอบถาม ตรวจเอกสาร หลักฐานร่องรอยการปฏิบัติงาน หรือข้อมูลเชิงประจักษ์         ตามกรอบแนวทางการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายใน
          ตัวชี้วัดความสำเร็จ
              โรงเรียนในสังกัดทุกโรงเรียนมีการดำเนินงานตามกรอบแนวทางการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายใน  8 ประการ
          วิธีการวัด
          สังเกต สอบถาม ตรวจเอกสาร หลักฐานร่องรอยการปฏิบัติงาน หรือข้อมูลเชิงประจักษ์
          เกณฑ์การประเมินผล
          การประเมินผล ให้ประเมินผลในภาพรวมการดำเนินงานของโรงเรียนในการดำเนินงานตามระบบ       การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสู่การปฏิบัติ เป็นระดับคุณภาพ 5 ระดับ คือ
              คุณภาพดีเยี่ยม   หมายถึง มีการดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนดจนเกิดผลดีตามภาพความสำเร็จและสามารถเป็นตัวอย่างได้
              คุณภาพดี    หมายถึง      มีการดำเนินงานส่วนใหญ่ตามแนวทางที่กำหนดจนเกิดผลดีตามภาพความสำเร็จ
              คุณภาพพอใช้   หมายถึง มีการดำเนินงานส่วนใหญ่ตามแนวทางที่กำหนดจนเกิดผลดีและมีแนวโน้ม
 บรรลุตามภาพความสำเร็จ
              คุณภาพปรับปรุง  หมายถึง    มีการดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนดบ้างและมีแนวโน้มไม่บรรลุ
 ตามภาพความสำเร็จ
              คุณภาพปรับปรุงเร่งด่วน   หมายถึง    ไม่มีการดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนดและมีแนวโน้มไม่บรรลุตามภาพความสำเร็จ
                                   

====================================================================

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น